บจธ. ชูโมเดล 4 พื้นที่บริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน สู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ภายใน ๒ ปี

บจธ. ชูโมเดล 4 พื้นที่บริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน สู่ความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม ภายใน ๒ ปี

เป็นเรื่องที่น่ายินดีกับกลุ่มเกษตรกร  วิสาหกิจชุุมชน และ สหกรณ์การเกษตรที่ได้เข้าร่วมโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนของ บจธ. ซึ่งได้พัฒนาศักยภาพจนเป็นชุมชนต้นแบบจนเป็นเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับจังหวัดได้  สมาชิกมีความเข้มแข็ง ทุกครอบครัวมีคุณภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีกินไม่ลำบากแม้ในช่วงการระบาดของโควิด-19

แนวโน้มของเกษตรกรและผู้ยากจนี่จะสูญเสียสิทธิในที่ดินทำกินสูงขึ้นในช่วงการระบาดของโควิด-19 สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) หรือ บจธ. ได้ดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมติดตามก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืนทั้ง 12 พื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยได้ดำเนินการช่วยเหลือกลุ่มเกษตรกรให้มีที่ดินทำกินไปแล้วจำนวน 482 ครัวเรือน พื้นที่ 1,234-2-17.7 ไร่ และโครงการแก้ไขปัญหาการสูญเสียสิทธิ์ในที่ดินของเกษตรกรและผู้ยากจน จากการจำนอง ขายฝาก และถูกบังคับคดี ได้มีที่ดินของตนเองกลับคืนมาแล้วจำนวน 334 ราย และในปี 2565 บจธ. ยังมีภารกิจสำคัญที่ต้องผลักดันกฎหมายพระราชบัญญัติสถาบันบริหารจัดการที่ดินและกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน พ.ศ. …. ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อเป็นองค์กรที่สามารถสนับสนุนหน่วยงานต่างๆ และช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนเรื่องที่ดินได้อย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ

ตลอดระยะเวลากว่า 7 ปี ตั้งแต่เริ่มดำเนินการ บจธ. เป็นหน่วยงานของรัฐ ที่มีภารกิจที่สำคัญที่มุ่งเน้นในการจัดหาและพัฒนาที่ดิน พร้อมส่งเสริมศักยภาพชุมชน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้านที่ดินทำกิน ให้เกษตรกรและผู้ยากจนได้มีที่ดินทำกินเป็นของตนเอง และมีภารกิจหลักที่สำคัญอีกประการในการจัดตั้งธนาคารที่ดิน เพื่อเป็นองค์กรหลักในการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดินทำกินของประเทศตามนโยบายของรัฐบาล โดยดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน และจัดตั้งธนาคารที่ดินให้แล้วเสร็จ ส่งเสริมความรู้ให้เหลือเกษตรกรและผู้ยากจนสามารถพึ่งพาตนเองได้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ปัจจุบัน บจธ. ได้เตรียมความพร้อมในกระบวนการเพื่อพิจารณาให้ช่วยเหลือในสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด -19  โดยมุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของพี่น้องเกษตรกรและชุมชน ให้พึ่งพาตัวเองได้ และแบ่งปันผู้เดือดร้อน โดยจะเห็นได้ว่าวิสาหกิจชุมชน 11 พื้นที่ และสหกรณ์การเกษตร 1 พื้นที่ ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค (ภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคตะวันตก และตะวันออกเฉียงเหนือ) มีความเข้มแข็ง มีผลผลิตและผลิตภัณฑ์แปรรูปทางการเกษตร มีผักปลอดสารพิษเพื่อบริโภค ที่ชุมชนสามารถจำหน่ายได้เอง และส่งออกขายได้ทั่วประเทศ สร้างรายได้เลี้ยงดูครอบครัว มีเงินเก็บออมจ่ายค่าเช่าที่ดิน และค่าเช่าซื้อที่ดินกับ บจธ. ได้ โดยแต่ละวิสาหกิจชุมชนในแต่ละภาคมีความเข้มแข็งและที่สามารถสร้างจุดเด่นให้กับกลุ่มได้