บิ๊กอวบ มอบนโยบาย การจัดทำร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดินฯ ลดความเลื่อมล้ำ เเก้ไขปัญหาที่ดิน อย่างเป็นรูปธรรม ไม่ซ้ำซ้อน

เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2563 พล.ต.อ. เฉลิมเกียรติ  ศรีวรขาน ประธานกรรมการสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน ได้เข้ามอบนโยบาย การจัดทำร่าง พ.ร.บ. ธนาคารที่ดินฯ ให้แก่คณะอนุกรรมการจัดทำร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดินหรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ในการประชุมครั้งที่ 1/2563 ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 10 อาคารเบญจสิริ ททบ. 5  โดยคณะอนุกรรมการฯ จะร่วมกันพิจารณาจัดทำร่างพระราชบัญญัติ ดำเนินการเกี่ยวกับการร่างพระราชบัญญัติธนาคารที่ดิน หรือองค์กรอื่นที่มีวัตถุประสงค์ในลักษณะทำนองเดียวกันกับธนาคารที่ดิน ตามความในมาตรา 6 แห่งพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) พ.ศ. 2554 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 และบัญชาของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ) โดยมุ่งเชื่อมโยงกับนโยบายหลักของประเทศ ประกอบด้วย

นโยบายหลัก 12 ด้าน

ข้อ 5.3 พัฒนาภาคเกษตร

5.3.5 ดูแลเกษตรกรผู้มีรายได้น้อยให้สามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ในที่ดินทำกิน แหล่งเงินทุน โครงสร้างพื้นฐาน และปัจจัยการผลิตต่าง ๆ รวมทั้งดูแลและลดความเสียหายจากการทำการเกษตรในพื้นที่ประสบภัยทางธรรมชาติซ้ำซากโดยกำหนดเขตพื้นที่เกษตรกรรม (zoning)

ข้อ 7.2 สร้างความเข้มแข็งของชุมชน

7.2.3 แก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย ที่ดินทำกิน สร้างชุมชนที่น่าอยู่มุ่งเน้นการจัดการที่อยู่อาศัย การพัฒนาทักษะอาชีพ และการพัฒนาพื้นที่เมืองแบบองค์รวมเพื่อพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง สังคมที่เอื้ออาทร มีความสะดวกสบาย ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินมีวัฒนธรรมและจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ของเมืองและชุมชน และมีระบบเศรษฐกิจที่มั่นคงเพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และเป็นฐานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างยั่งยืน

ข้อ 10.2 ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินและลดความเหลื่อมล้ำด้านการถือครองที่ดิน  โดยจัดสรรที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยให้แก่ราษฎรที่ยากไร้และเกษตรกรตามหลักการของคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ การกระจายสิทธิการถือครองให้แก่ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ที่ไม่ได้รุกล้ำและมีมาตรการป้องกันการเปลี่ยนมือไปอยู่ในครอบครองของผู้ที่มิใช่เกษตรกรและผู้ยากจน จัดทำระบบฐานข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการที่ดิน จัดทำหลักฐานการถือครองที่ดินของรัฐทุกประเภท จัดทำแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของรัฐให้ชัดเจน และเร่งแก้ไขปัญหาเขตที่ดินทับซ้อนและแนวเขตพื้นที่ป่าที่ไม่ชัดเจน เพื่อลดข้อขัดแย้งระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่รัฐ

นโยบายเร่งด่วน 12 เรื่อง

ข้อ 1 การแก้ไขปัญหาในการดำรงชีวิตของประชาชน

… ปรับปรุงระบบภาษีและการให้สินเชื่อที่เอื้อให้ประชาชนสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเองได้ตามความพร้อม ปรับปรุงระบบที่ดินทำกินให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงได้ จัดทำแนวทางการกำหนดสิทธิและการจัดการสิทธิในที่ดินของเกษตรกรที่เหมาะสม …

(3) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561 – 2580) สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม

ข้อ 4.1 การลดความเลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติ

4.1.3 กระจายการถือครองที่ดินและการเข้าถึงทรัพยากร โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเขตพื้นที่ป่าทับซ้อนพื้นที่ทำกินของประชาชน รับรองสิทธิชุมชนในการเข้าใช้ประโยชน์ที่ดิน กำหนดมาตรการเพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินที่มีกรรมสิทธิ์อย่างเป็นธรรม และกระจายการถือครองที่ดินในขนาดที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการถือครองที่ดิน ปรับระบบเอกสารสิทธิ์ การถือครองที่ดินประเภทต่าง ๆ ให้ผู้มีรายได้น้อยและผู้ที่ไม่มีที่ดินเป็นกรรมสิทธิ์ใช้เป็นหลักฐานประกอบการขอพิจารณาสินเชื่อกับสถาบันการเงินได้ รวมถึงการปรับปรุงกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการใช้ประโยชน์ที่ดินสาธารณะเพื่อการประกอบอาชีพสำหรับประชาชน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินได้อย่างเป็นธรรมและมีที่อยู่อาศัยที่มั่นคง

(4) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 12 ในยุทธศาสตร์ที่ 2 โดยสรุป ดังนี้

– ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

เป้าหมายที่ 1 ลดปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ของกลุ่มคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคมที่แตกต่างกันและแก้ไขปัญหาความยากจน

เป้าหมายที่ 3 เพิ่มศักยภาพชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้มีความเข้มแข็ง เพื่อให้ชุมชนพึ่งพาตนเองและได้รับส่วนแบ่งผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้น

(5) (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560 – 2579) (คณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติเห็นชอบเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2560) สอดคล้องกับ (ร่าง) นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินฯ ใน 2 ยุทธศาสตร์ ดังนี้

– ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลยุทธ์ที่ 2.1 การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กลยุทธ์ที่ 2.2 การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็งและยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร

– ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการจัดที่ดินให้ประชาชนผู้ยากไร้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม

กลยุทธ์ที่ 3.1 การจัดหา พัฒนา ฟื้นฟูที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อจัดให้ประชาชนผู้ยากไร้มีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัย

กลยุทธ์ที่ 3.2 การสร้างกลไก เครื่องมือในการขับเคลื่อนนโยบายการจัดที่ดินทำกินให้ชุมชน

– ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน

กลยุทธ์ที่ 4.1 การพัฒนากลไกการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินให้มีประสิทธิภาพ

กลยุทธ์ที่ 4.2 การพัฒนาเครื่องมือ เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและเป็นธรรม

กลยุทธ์ที่ 4.3 การพัฒนาองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดิน