สมาชิกวิสาหกิจชุมชน แสมาชิก วิสาหกิจชุมชนฯ 12 แห่ง และ5 กลุ่มสหกรณ์ โครงการ บจธ. เข้าร่วมอบรมแนวคิด “ศาสตร์พระราชาและการพึ่งพาตนเอง”

 สมาชิกวิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ภายใต้โครงการบริหารจัดการที่ดินอย่างยั่งยืน 12 แห่ง และสมาชิกสหกรณ์ ภายใต้โครงการนำร่องธนาคารที่ดิน 5 ชุมชน ที่ได้รับการสนับสนุนที่ดินทำกินจาก บจธ. เข้าร่วมอบรมแนวคิด “ศาสตร์พระราชาและการพึ่งพาตนเอง” เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2564 ผ่านแอพพลิเคชั่น zoom ร่วมกับการประชุม ณ สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน อาคารเบญจสิริ สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก โดยมี พ่อคำเดื่อง ภาษี ครูภูมิปัญญาไทย ปราชญ์ชาวบ้าน จ. บุรีรัมย์ ผู้บุกเบิกเกษตรธรรมชาติด้วยทฤษฎีฟางเส้นเดียว และอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน บจธ. รวมทั้งพระอาจารย์วิบูลย์ ธัมมฺเตโช ที่ปรึกษาเจ้าอาวาสวัดพุทธอุทยานดอยอินทรีย์ จ.เชียงราย และอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน บจธ. เป็นวิทยากรบรรยาย เพื่อให้หลักคิด และแนวทางที่ต้องไม่เริ่มต้นโดยเอาเงินเป็นตัวตั้ง หรือเอาความร่ำรวยเป็นจุดเริ่ม แต่ต้องเริ่มลงมือทำทันที ทำจากพื้นที่เล็กๆ ปลูกอะไรที่กินก่อนแล้วค่อยขยายไปเรื่อยๆ ยึดหลักพอมี พอกิน พออยู่
“ ที่ดินเหมือนเป็นฮาร์ดแวร์ สิ่งที่เราปลูกคือซอฟท์แวร์ ในซอฟท์แวร์มันจะมีอะไรเยอะแยะ ขยายออกไปเรื่อยๆ เช่นเราปลูกมะม่วง ก็จะเห็นตั้งแต่ต้นอ่อนในเม็ดมะม่วง เห็นผล เห็นแล้วก็เห็นการนำผลไปปลูกขยายต่ออีกไม่รู้เท่าไหร่ “ พ่อคำเดืองกล่าวเปรียบเทียบ
ขณะที่พระอาจารย์วิบูลย์ ได้ชี้ให้เห็นการนำศาสตร์พระราชาไปใช้ นอกจากได้ฟื้นฟูธรรมชาติและเรื่องความพอเพียงแล้วยังทำให้เกิดความสามัคคีในกลุ่มอีกด้วย
ผู้เข้าอบรมต่างสะท้อนตรงกันว่าแนวคิดที่ได้รับฟังช่วยทำให้เกิดการเปลี่บนแปลงแนวทางทำเกษตร สร้างแรงบันดาลใจ และมีความเข้าใจในหลักคิดมากขึ้น
นางสาว ศิริพร โคตะวินนท์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาส่งเสริมศักยภาพชุมชน บจธ. กล่าวว่าการอบรมครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรก ซึ่ง บจธ. ต้องการเห็นการสร้างเครือข่าย และบูรณาการกับหน่วยงานต่างๆ ตามที่บางวิวาหกิจได้ดำเนินการไปแล้ว และจะปรับเนื้อหา หัวข้อ วิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญในครั้งต่อไปตามที่สมาชิกเสนอความเห็นมา
พล.อ. สัมพันธ์ ธัญญพืช ประธานอนุกรรมการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพชุมชน สถาบันบริหารจัดการธนาคารที่ดิน (องค์การมหาชน) สรุปว่า การอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งนี้ เป็นเรื่องที่ดีที่ บจธ. จะได้นำไปจัดเป็นประจำทุกเดือนตามข้อเสนอของสมาชิก และขอให้สมาชิกนำความรู้จากวิทยากรในวันนี้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่อไป