โคก หนอง นา โมเดล ที่บ้านดอนมูล จังหวัดเชียงราย

บจธ. สนับสนุนให้ชาวบ้านรวมกลุ่มเป็นกลุ่มเกษตรกรวิสาหกิจชุมชน เพื่อสร้างความ มั่นคงในอาชีพ และมีี่ดินทำกินเป็นของตนเอง ภายใต้โครงการต้นแบบการบริหารจัดการ ที่ดินแบบครบวงจร ซึ่งจังหวัดเชียงราย บจธ. ได้ดำเนินการช่วยเหลือไปแล้วหลายพื้นที่

นายศรีชา ม่วงไข่ ผู้อำนวยการกองบริหารจัดการที่ดิน บจธ. เปิดเผยว่าชาวบ้านได้รวม กลุ่มจัดตั้งเป็น วิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานใหม่บ้านดอนมูล ตั้งอยู่ที่ ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย และได้ร้องทุกข์เรื่องขาดที่ดินทำกิน ขอให้ บจธ. ช่วยรับเข้าโครงการฯ ซึ่งประสบ ปัญหาไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตนเองจำนวนมาก และเป็นปัญหาต่อเนื่องมายาวนานทำให้ ชาวบ้าน และกลุ่มเกษตรกรได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจ ตกต่ำที่เกิดขึ้นปีนี้ด้วย นายบุญธรรม นวลตา ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรผสมผสานใหม่บ้านดอนมูล กล่าวว่า ปัญหาจากเกษตรพันธสัญญารวมทั้งการกู้ยืมเงินจากทั้งในและนอกระบบเพื่อนำมา ลงทุนหาเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัว ทำให้สมาชิกเกิดภาระหนี้สินผูกพันเป็นจำนวนมาก และเกษตรกรส่วนใหญ่ตำบลมีปัญหาขาดแคลนที่ดินทำกิน”บางคนอาจจะมี ที่อยู่อาศัยแต่ขาด ที่ดินทำกินทำให้ต้องไปเช่าที่หรือกู้หนี้ยืมสิน จากสถาบันการเงินทั้งในระบบ และนอกระบบ จนต้นทุนการผลิตสูงขึ้น รายได้จากผลผลิตที่ได้มาก็ต้องเอาไปใช้หนี้ ทำให้รายได้ของคน ในชุมชนไม่เพียงพอกับรายจ่าย”

จากปัญหาความเดือดร้อนของชาวบ้านดอนมูลทำให้ชุมชนร่วมก่อตั้งวิสาหกิจชุมชนเกษตร ผสมผสานใหม่บ้านดอนมูล ต.เมืองชุม อ.เวียงชัย จ.เชียงราย ขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนสมาชิก 58 คน โดยรวมกลุ่มชาวบ้านที่เดือดร้อนจากปัญหาที่ดินทำกิน และร้องขอความช่วยเหลือผ่านสำนักข่าว NBT ให้ บจธ. เข้ามาช่วยเหลือเรื่องการจัดซื้อที่ดินแปลงรวม โดยกลุ่มสมาชิกได้ร่วมกันออกแบบการ ใช้ประโยชน์ที่ดิน แบ่งผังที่ดินตามแนวทางโคก หนอง นา โมเดล มีบ่อน้ำ พื้นที่ส่วนกลาง บ้านพักอาศัย พื้นที่ปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นมีนาข้าว ผักสวนครัว โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ มีพันธมิตรร่วมออกแบบ คือมหาวิทยาลัย แม่โจ้ ตั้งใจทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 เพื่อส่งเสริมสิทธิชุมชน ในการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นผลิตอาหารที่ปลอดภัยพึ่งพาตนเองได้ ยกระดับเป็นแหล่งเรียนรู้ต้นแบบ เกษตรอินทรีย์ เชิงท่องเที่ยวให้กับชุมชนด้วย ในพื้นที่ 105.3 ไร่ เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการทุกคน ต้องได้รับการฝึกอบรมสร้างภูมิคุ้มกันทางใจ และศาสตร์พระราชาเพื่อนำความรู้ไปพัฒนาพื้นที่ในการ ทำเกษตร สามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและในชุมชนอย่างยั่งยืน และมั่นคงตลอดไป